วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

วิจิตรศิลป์




วิจิตรศิลป์ ( fine art )

วิจิตรศิลป์ คืองานศิลปะที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย อาจเรียกอีกอย่างว่า ศิลปะบริสุทธิ์ ( pure art ) เพราะศิลปินจะสร้างสรรค์งานขึ้นมาด้วยความพอใจ ความบริสุทธิ์ใจ มิได้หวังผลตอบแทนใดๆ หรืออาจเพื่อประโยชน์บ้าง แต่ก็เน้นความละเอียดลออในการสร้างสรรค์ให้วิจิตรพิสดารหรูหราเกินความจำเป็นแก่ประโยชน์ใช้สอย จึงอาจเรียกศิลปะสาขานี้ว่า ประณีตศิลป์
วิจิตรศิลป์ แบ่งออกเป็น 8 ประเภท

1.  จิตรกรรม
จิตรกรรม ( painting ) คือการเขียนภาพลงบนวัตถุต่างๆ เช่น กระดาษ ไม้อัด ผ้าใบ ผนังปูน ฯลฯ สีที่ใช้ในการเขียน เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีฝุ่น สีชอล์ก สีน้ำมัน สีอะคริลิก ผงถ่านคาร์บอน ภาพที่เขียนมีหลายลักษณะ เช่น ภาพคนเหมือน (portrait) 
ภาพสัตว์ (animal)   ภาพทิวทัศน์บก (landscape)     ภาพทิวทัศน์ทะเล (seascape) 
ภาพหุ่นนิ่ง (still life)  ภาพชีวิตประจำวัน (genre painting)   ภาพประกอบ (illustration)

2. ประติมากรรม
 ประติมากรรม ( sculpture ) หมายถึง งานศิลปกรรมที่สร้างเป็นรูปทรง 3 มิติ โดยวิธีการแกะสลัก การปั้น หรือการใช้หลายวิธีการร่วมกัน ได้แก่ การปั้น การแกะสลัก การหล่อ การทุบ การตี การเคาะ วัสดุที่ใช้ ได้แก่ ดิน ขี้ผึ้ง สบู่ ไม้ หิน  ปูนปลาสเตอร์ โลหะต่างๆ งานประติมากรรมมีลักษณะเป็น 3 มิติ กล่าวคือ นอกจากความกว้างและความยาวแล้ว ยังมีความหนาหรือความลึกรวมทั้งปริมาตรของรูปทรงด้วยงานประติมากรรมแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ 

2.1. ประติมากรรมนูนต่ำ  (bas - relief)
มีลักษณะเป็นเส้นร่องหรือเป็นแอ่งลึกลงไปเพียงเล็กน้อย หรือนูนจากพื้นขึ้นมาเพียงเล็กน้อยสามารถมองด้านหน้าได้เพียงด้านเดียว เช่น เหรียญ ศิลาจารึก ฯลฯ


2.2. ประติมากรรมนูนสูง ( high – relief )
คืองานที่มีลักษณะนูนขึ้นมาจากผิวพื้นมากกว่าแบบนูนต่ำ สามารถมองเห็นด้านข้างของงานได้พอสมควร เช่น รูปแกะสลักเทพอัปสรแห่งนครวัด รูปแกะสลักที่ฐานอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  ฯลฯ


2.3.  ประติมากรรมลอยตัว
เป็นงานที่มีลักษณะมองเห็นได้รอบด้าน เช่น รูปหล่อทหาร – ตำรวจที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พระประธานในพระอุโบสถ  ฯลฯ

3. สถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรม (architecture) หมายถึง การออกแบบก่อสร้างอาคารสถานที่ เช่น ที่อยู่อาศัย สาธารณสถาน ศาสนสถาน ฯลฯ โดยคำนึงถึงความสะดวกเหมาะสมกับการใช้สอย ความมั่นคงแข็งแรงความสวยงามน่าชื่นชม ซึ่งถ้างานก่อสร้างอาคารสถานที่แห่งใดมีความวิจิตรหรือประดับประดาสวยงามเกินจุด
มุ่งหมายแค่เพียงที่อยู่อาศัยหรือใช้สอยอื่นๆก์ยิ่งมีคุณค่าในทางวิจิตรศิลป์มากยิ่งขึ้น


4.  ภาพพิมพ์
ภาพพิมพ์ (print) เป็นงานที่มีลักษณะเป็น 2 มิติบนพื้นระนาบคล้ายกับงานจิตรกรรม ต่างกันคือภาพพิมพ์จะต้องสร้างสรรค์บนแม่พิมพ์ก่อน แล้วจึงนำไปพิมพ์บนแผ่นภาพ การพิมพ์ภาพมีหลายเทคนิควิธีการ เช่น ภาพพิมพ์ตะแกรงไหม (sillk screen) ภาพพิมพ์กัดกรด (etching) ภาพพิมพ์สเตนซิล (stencil) ภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) ฯลฯ

5.  สื่อผสม
สื่อผสม (mixed media) เป็นงานวิจิตรศิลป์ที่ผสมผสานงานจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ หรือเทคนิควิธีการต่างๆเข้าด้วยกัน อาจมีลักษณะเป็น 2 มิติหรือ 3 มิติก็ได้ 


6.  ศิลปะภาพถ่าย
การถ่ายภาพ (photography) ที่จัดอยู่ในประเภทวิจิตรศิลป์นั้นเป็นการถ่ายภาพที่ใช้เทคนิคและวิธีการที่แปลกกว่าภาพถ่ายที่ทำให้ผู้ชมเกิคความคิดความเจริญทางสติปัญญา มีผลในทางสร้างสรรค์ มิใช่ภาพอนาจารหรือภาพถ่ายโดยทั่วไป


7.  วรรณกรรม
วรรณกรรม (literature) หมายถึงงานประพันธ์ต่างๆทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง เป็นการแสดงออกถึงศิลปะในการใช้ภาษา โดยการเรียบเรียงถ้อยคำอย่างสละสลวยและเหมาะสม เพื่อถ่ายทอดความรู้ความคิดของผู้ประพันธ์ หรือเป็นการเล่าเรื่องหรือพรรณนาถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

8.  ดนตรีและนาฎศิลป์ 
ดนตรี (music) หมายถึง ศิลปะที่แสดงออกโดยการเรียบเรียงระดับเสียงสูงต่ำที่ใช้ความรู้สึกและจินตนาการสร้างสรรค์ผสมผสานกันอย่างลงตัวผ่านเครื่องดนตรีชนิดต่างๆเพื่อให้เกิดความไพเราะ ส่วนนาฎศิลป์ (drama) เป็นการแสดงออกทางลีลา ท่าทางการรำ การแสดงโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความพอใจ งานศิลปะประเภทจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม และศิลปะภาพถ่าย เป็นศิลปะที่เรารับรู้และชื่นชมได้โดยใช้ประสาทสัมผัสทางตาด้วยการมองเห็น เราจึงเรียกรวมศิลปะทั้ง 6 ประเภทนี้ว่า ทัศนศิลป์ (visual art) ส่วนศิลปะประเภทวรรณกรรมและดนตรีและนาฎศิลป์ เรียกว่า โสตทัศนศิลป์(audiovisual art) 



การออกแบบ (Design)


                การออกแบบ (Design) 


การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น 
สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม
ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง
แผนการทำงานก็ได้
2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ
ตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ
ระหว่างกัน
3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย
ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น
หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด
4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต
เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง  นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน
หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง

แบบ 
 เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ

นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ
1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures) 
หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง   ภาพพิมพ์ (Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ
เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ

2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดงรายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้
เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหาข้อบกพร่องได้



     
 แล้วแวะมาอีกน้า  บายยยยย  

อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art)

อุตสาหกรรมศิลป์ (Industrial Art)

เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ (Product) สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ด้วยวิธีการในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการทำงานเป็นระบบ เป็นขั้นตอน มีมาตรฐาน มีการใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วย ทำให้ต้นทุนต่ำ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ เครื่องยนต์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเลคโทรนิค เฟอร์นิเจอร์ สุขภัณฑ์ ครุภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย เครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ ตลอดจนถึงภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วย     

ผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักออกแบบ (Designer)


 


 

จิตรกรรม (Painting)

เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการขีดเขียน การวาดและระบายสี เพื่อให้เกิดภาพ 

บรรลุ วิริยาภรณ์ประภาส 1997

เป็นงานศิลปะที่มี 2 มิติ เป็นรูปแบน ไม่มีความลึกหรือนูนหนา แต่สามารถเขียนลวงตาให้
เห็นว่ามีความลึกหรือนูนได้ ความงามของจิตรกรรมเกิดจากการใช้สีในลักษณะต่าง ๆ กัน
องค์ประกอบสำคัญของงานจิตรกรรม คือ
1.ผู้สร้างงาน หรือ ผู้วาด เรียกว่า จิตรกร
2.วัสดุที่ใช้รองรับการวาด เช่น กระดาษ  ผ้า  ผนัง ฯลฯ
3.สี  เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงเนื้อหา เรื่องราวเกี่ยวกับผลงาน
งานจิตรกรรมเป็นงานศิลปะที่เก่าแก่ดั้งเดิมของมนุษย์ เริ่มตั้งแต่การขีดเขียนบนผนังถ้ำ
บนร่างกาย บนภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ จนพัฒนามาเป็นภาพวาดที่ใช้ประดับตกแต่งในปัจจุบัน
การวาดภาพเป็นพื้นฐานของงานศิลปะทุกชนิด

งานจิตรกรรม แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ   
1.การวาดเส้น (Drawing) เป็นการวาดภาพโดยใช้ปากกา หรือดินสอ ขีดเขียนลงไป 


แปลก    กิจเฟื่องฟู  2539

บนพิ้นผิววัสดุรองรับเพื่อให้เกิดภาพ การวาดเส้น คือ การขีดเขียนให้เป็นเส้นไม่ว่าจะ
เป็นเส้นเล็ก หรือเส้นใหญ่ ๆ มักมีสีเดียวแต การวาดเส้นไม่ได้จำกัดที่จะต้องมีสีเดียว อาจ
มีสีหลาย ๆ  สีก็ได้ การวาดเส้น จัดเป็นพื้นฐานที่สำคัญของงานศิลปะแทบทุกชนิด
อย่างน้อย ผู้ฝึกฝนงานศิลปะควรได้มีการฝึผนงานวาดเส้นให้เชี่ยวชาญเสียก่อน ก่อนที่จะ
ไปทำงานด้านอื่น ๆ ต่อไป
2.การระบายสี (Painting) เป็นการวาดภาพโดยการใช้พู่กัน หรือแปรง หรือวัสดุอย่างอื่น
มาระบายให้เกิดเป็นภาพ  การระบายสี ต้องใช้ทักษะการควบคุมสีและเครื่องมือมากกว่าการวาด
เส้น ผลงานการระบายสีจะสวยงาม เหมือนจริง และสมบูรณ์แบบมากกว่าการวาดเส้น



ประเภทของศิลปะ

ประเภทของศิลปะ
  ปัจจุบัน ศิลปินได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะไว้มากมายหลายประเภท ซึ่งเรา สามารถแบ่ง ประเภทของศิลปะ ออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ   ตามประเภทของความงาม คือ
  
  1. 
วิจิตรศิลป์ (Fine Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางใจ ที่ มุ่งเน้นความงดงาม และความพึงพอใจ มากกว่าประโยชน์ใช้สอย   หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางด้านจิตใจ และอารมณ์ เป็นสำคัญ แบ่งออกเป็น 6 แขนง คือ

  1.1 จิตรกรรม(ภาพเขียน)
  1.2 ประติมากรรม(ภาพปั้น)
  1.3 สถาปัตยกรรม(งานก่อสร้าง)
  1.4 วรรณกรรม(บทประพันธ์)
  1.5 ดนตรี และนาฏศิลป์(การขับร้อง,การบรรเลง)
  1.6 การพิมพ์ภาพ

  2. ประยุกต์ศิลป์ (Applied Art) คือศิลปะที่อำนวยประโยชน์ทางกายมุ่งเน้นประโยชน์ทางการใช้สอยมากกว่าความงาม   หรือสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการ ทางร่างกาย แบ่งออกเป็น

   5 แขนง คือ
  1.1 พาณิชย์ศิลป์ (ศิลปะเพื่อประโยชน์ทางการค้า)
  1.2 มัณฑนศิลป(ศิลปะการตกแต่ง)
  1.3 อุตสาหกรรมศิลป (ศิลปะออกแบบผลิตภัณฑ์)
  1.4 หัตถศิลป์ (ศิลปะที่ใช้ฝีมือ)
  1.5 การออกแบบ 
 จากความหมาย ความงาม และประเภทของศิลปะ เราสามารถสรุปได้ว่า ศิลปะคือสิ่งที่มนุษย์ สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อความงามและความพอใจ   สิ่งใดที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แม้จะมี ความงดงาม ก็หาใช่ศิลปะไม่ ดังเช่น พระอาทิตย์กำลังจมลงทะเล ดอกไม้หลากสีสวยงาม   ความงามและความพึงพอใจของศิลปะมี 2 ประเภท คือ
  - ความงามทางกาย
  - และความงามทางใจ
  ความงามทางกายเป็นศิลปะที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเรา เราสัมผัส และเห็นคุณค่า ได้อย่าง เป็นรูปธรรม  ส่วนความงามทางใจเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางนามธรรม ทำให้เรามีความเป็นมนุษย์ ที่สมบูรณ์ สามารถ ดำเนินวิถีชีวิตได้อย่างมีความสุข  เฉกเช่น การปฏิบัติศีลในพระพุทธศาสนา

 

ประติมากรรม (Sculpture)

ประติมากรรม (Sculpture)

       เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการสร้างรูปทรง 3 มิติ มีปริมาตร มีน้ำหนักและกินเนื้อที่ในอากาศ โดยการใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ วัสดุที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรม จะเป็นตัวกำหนด วิธีการสร้างผลงาน ความงามของงานประติมากรรม เกิดจากการแสงและเงา ที่ เกิดขึ้นในผลงานการสร้างงานประติมากรรมทำได้ 4 วิธี คือ

  1. การปั้น (Casting) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุ ทีเหนียว อ่อนตัว และยึดจับตัว กันได้ดี วัสดุที่นิยมนำมาใช้ปั้น ได้แก่ ดินเหนียว ดินน้ำมัน ปูน แป้ง ขี้ผึ้ง กระดาษ หรือ ขี้เลื่อยผสมกาว เป็นต้น

    2. การแกะสลัก (Carving) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ จากวัสดุที่ แข็ง เปราะ โดยอาศัย เครื่องมือ วัสดุที่นิยมนำมาแกะ ได้แก่ ไม้ หิน กระจก แก้ว ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น

                                                           

3. การหล่อ (Molding) เป็นการสร้างรูปทราง 3 มิติ จากวัสดุที่หลอมตัวได้และกลับแข็ง ตัวได้ โดยอาศัยแม่พิมพ์ ซึ่งสามารถทำให้เกิดผลงานที่เหมือนกันทุกประการตั้งแต่ 2 ชิ้น ขึ้นไป วัสดุที่นิยมนำมาใช้หล่อ ได้แก่ โลหะ ปูน แป้ง แก้ว ขี้ผึ้ง ดิน เรซิ่น พลาสติก ฯลฯ รำมะนา (ชิต เหรียญประชา)


    4. การประกอบขึ้นรูป (Construction) เป็นการสร้างรูปทรง 3 มิติ โดยนำวัสดุต่าง ๆ มา ประกอบเข้าด้วยกัน และยึดติดกันด้วยวัสดุต่าง ๆ การเลือกวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการใช้ ประติมากรรม ไม่ว่าจะสร้างขึ้นโดยวิธีใด จะมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ แบบนูนต่ำ แบบนูนสูง และแบบลอยตัว ผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม เรียกว่าประติมากร


                                                    ประเภทของงานประติมากรรม




1.ประติมากรรมแบบนูนต่ำ ( Bas Relief ) เป็นรูปที่เป็นนูนขึ้นมาจากพื้นหรือมีพื้นหลัง รองรับ มองเห็นได้ชัดเจนเพียงด้านเดียว คือด้านหน้า มีความสูงจากพื้นไม่ถึงครึ่งหนึ่งของรูป จริง ได้แก่รูปนูนแบบเหรียญ รูปนูนที่ใช้ประดับตกแต่งภาชนะ หรือประดับตกแต่งอาคารทาง สถาปัตยกรรม โบสถ์ วิหารต่างๆ พระเครื่องบางชนิด



2.ประติมากรรมแบบนูนสูง ( High Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ในลักษณะเช่นเดียวกับแบบ นูนต่ำ แต่มีความสูงจากพื้นตั้งแต่ครึ่งหนึ่งของรูปจริงขึ้นไป ทำให้เห็นลวดลายที่ลึก ชัดเจน และ และเหมือนจริงมากกว่าแบบนูนต่ำและใช้งานแบบเดียวกับแบบนูนต่ำ



 3.ประติมากรรมแบบลอยตัว ( Round Relief ) เป็นรูปต่าง ๆ ที่มองเห็นได้รอบด้านหรือ ตั้งแต่ 4 ด้านขึ้นไป ได้แก่ ภาชนะต่าง ๆ รูปเคารพต่าง ๆ พระพุทธรูป เทวรูป รูปตามคตินิยม รูปบุคคลสำคัญ รูปสัตว์ ฯลฯ                   
                  ประติมากรรม

    

 ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ (ภาพแกะสลัก) ที่ปราสาทนครวัด

                                ผลงานประติมากรรมนูนสูง ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส
                                                            
                                   ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส

             ประติมากรรม (อังกฤษ: sculpture) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร

 งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร

งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของกความลึก ได้แก่

ประติมากรรมนูนต่ำ
ประติมากรรมนูนสูง
ประติมากรรมลอยตัว
              นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมโมบาย ที่แขวนลอยและเคลื่อนไหวได้ และประติมากรรมติดตั้งชั่วคราวกลางแจ้ง (Installation Art) ที่เรียกว่าศิลปะจัดวาง

              1. ประติมากรรมลอยตัว ( Round - Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ปั้น หล่อ หรือแกะสลักขึ้นเป็นรูปร่างลอยตัวมองได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลัง เช่น รูปประติมากรรมที่เป็นอนุสาวรีย์ประติมากรรมรูปเหมือน และพระพุทธรูปลอยตัวสมัยต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงประติมากรรมสำหรับประดับตกแต่ง เป็นต้น ประติมากรรมประเภทลอยตัวของไทยที่รู้จักกันดี คือ พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปคลาสิคของไทยนั้นนับเป็นประติมากรรมลอยตัวที่สมบูรณ์แบบที่สุดของไทย ประติมากรรมประเภทนี้สร้างมากในสมัยปัจจุบัน คือ อนุสาวรีย์และรูปเคารพหรือพระบรมรูปของเจ้านายชั้นสูง เช่น อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี กรุงเทพ ฯ อนุสาวรีย์ในจังหวัดต่าง ๆ มากมายเป็นต้น

              2. ประติมากรรมประเภทนูนสูง ( High – Relief ) ได้แก่ ประติมากรรมที่ไม่ลอยตัว มีพื้นหลัง ตัวประติมากรรมจะยื่นออกมาจากพื้นหลังค่อนข้างสูง แต่มีพื้นเป็นฉากหลังประกอบอยู่ ประติมากรรมประเภทนี้มักใช้ตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาฐานอนุสาวรีย์อาคารทั่วไป เป็นประติมากรรมที่นิยมสร้างขึ้นเพื่อประดับตกแต่งอาคารสถาปัตยกรรมพุทธศาสนาแต่อดีต เช่น ประติมากรรมตกแต่งกระวิหารวัดไลย์ อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นประติมากรรมปูนปั้นแบบนูนสูง กล่าวกันว่าเป็นศิลปะสมัยอู่ทอง สร้างขึ้นราวพุทธศวตวรรษที่ 17 โดยด้านหน้าวิหารปั้นเป็นเรื่องปฐมสมโพธิ์และทศชาติด้านหลังเป็นเรื่องการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ประติมากรรมปูนปั้น พระพุทธรูปปางลีลาที่วัดเจดีย์เจ็ดแถว อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย ประติมากรรมปูนปั้นที่วิหารทรงม้า วัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชและประติมากรรมปูนปั้นประดับเจดีย์เจ็ดยอด วัดเจดีย์เจ็ดยอดอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ประติมากรรมประเภทนูนสูงที่ใช้สำหรับตกแต่งนี้ควรจะรวมถึง ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่งด้วย เช่น ประติมากรรมปูนปั้นประดับกระจกหน้าบ้าน พระอุโบสถและวิหารต่าง ๆ ตลอดจนถึงการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมในปัจจุบัน เช่น ประติมากรรมที่ปั้นเป็นเรื่องราวหรือเป็นลวดลายประดับตกแต่งอาคาร ตกแต่งฐานอนุสาวรีย์ ตกแต่งสะพาน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เป็นต้น

              3. ประติมากรรมประเภทนูนต่ำ ( Bas – Relief ) ได้แก่ งานประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับประติมากรรมประเภทนูนสูง แต่จะแบนหรือบางกว่าประติมากรรมประเภทนี้ ไม่ปรากฏมากนักในอดีต ซึ่งมักจะได้แก่ ประติมากรรมที่เป็นลวดลายประดับตกแต่ง เช่น แกะสลักด้วยไม้ หิน ปูนปั้น เป็นต้น ในปัจจุบันมีทำกันมากเพราะใช้เป็นงานประดับตกแต่งได้ดี ซึ่งอาจจะปั้นเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ตามวัตถุประสงค์ของสถาปัตยกรรมที่นำประติมากรรมนั้นไปประกอบนอกจากนี้ ประติมากรรมประเภทนี้ยังใช้ได้ดีในการปั้นเหรียญชนิดต่าง ๆ รวมถึงการปั้นเครื่องหมาย ตรา เครื่องหมายต่าง ๆ กันอย่างแพร่หลาย

ดนตรีและนาฎศิลป์ (Music & Dramatic Art)

ป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้เสียง การจัดจังหวะ และท่วงทำนองของเสียง 

ด้วยการเล่นดนตรี และการขับร้องเพลง ที่มีผลต่ออารมณ์และจิตใจของมนุษย์ รวมถึงการใช้ 
ท่าทางประกอบเสียง การเต้น ระบำ รำ ฟ้อน การแสดงละคร ฯลฯ  ผู้
สร้างสรรค์งาน เรียกว่า 
นักดนตรี (Musician) นักร้อง (Singer) หรือ นักแสดง (Actor / Actress)

 

วรรณกรรม (Literature)

วรรณกรรม (Literature)  

ป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการใช้ภาษา เพื่อการสื่อสารเรื่องราวให้เข้าใจ ระหว่างมนุษย์ ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดค้น และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้สื่อความหมาย เรื่องราวต่าง ๆ ภาษาที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสารได้แก่
1. ภาษาพูด โดยการใช้เสียง
2. ภาษาเขียน โดยการใช้ตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ และภาพ
3. ภาษาท่าทาง โดยการใช้กิริยาท่าทาง หรือประกอบวัสดุอย่างอื่น

 
ความงามหรือศิลปะในการใช้ภาษา ขึ้นอยู่กับ การใช้ภาษาให้ถูกต้อง ชัดเจน และ เหมาะสมกับเวลา โอกาส และบุคคล นอกจากนี้ ภาษาแต่ละภาษายังสามารถปรุงแต่ง ให้เกิดความเหมาะสม ไพเราะ สวยงามได้ ชาติไทย เป็นชาติที่มีอารยะธรรมเก่าแก่ มี ภาษที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน นอกจากนี้ ยังมี ความคิดสร้างสรรค์ในการใช้ภาษาได้อย่างไพเราะ ถือเป็นความงามของการใช้ภาษา จากการแต่งโคลง กลอน คำประพันธ์ ร้อยแก้วต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีการบัญญัติคำ ราชาศัพท์ คำสุภาพ ขึ้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นวัฒนธรรมที่เป็นเลิศทาง การใช้ภาษาที่ควรดำรง และยึดถือต่อไป ผู้สร้างสรรค์งานวรรณกรรม เรียกว่า นักเขียน นักประพันธ์ หรือ กวี (Writer or Poet)

วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. ร้อยแก้ว เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหา เรื่องราวต่าง ๆ
2. ร้อยกรอง เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัส คล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความ งานมของภาษาไทย ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย

 

สถาปัตยกรรม (Architecture)

สถาปัตยกรรม (Architecture)   ป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง อาคาร ที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การวางผังเมือง การจัดผังบริเวณ การตกแต่งอาคาร การออกแบบก่อสร้าง ซึ่งเป็นงานศิลปะ ที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้ผู้สร้างงานจำนวนมาก และเป็นงานศิลปะ ที่มีอายุยืนยาว สถาปัตยกรรม เป็นวิธีการจัดสรรบริเวณที่ว่างให้เกิดประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศาสตร์ในสาขาต่าง ๆ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และศิลปะ ความงดงาม และคุณค่าของสถาปัตยกรรม ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ดังนี้ คือ
1. การจัดสรรบริเวณที่ว่างให้สัมพันธ์กันของส่วนต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอก
2. การจัดรูปทรงทางสถาปัตยกรรมให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย และสิ่งแวดล้อม
3. การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกลมกลืน
 
  สถาปัตยกรรมแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ 
1. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อให้มนุษย์เข้าไปอาศัยอยู่ หรือประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โบสถ์ วิหาร ศาลา ฯลฯ
2. ชนิดที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยอย่างอื่น ๆ เช่น อนุสาวรีย์ เจดีย์ สะพาน เป็นต้น ผู้สร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม เรียนว่า สถาปนิก (Architect)


 
คลิ๊กที่รูป เพื่อดูภาพใหญ่

6 สถาปนิกภายหลังสถาปัตยกรรม ยุคโมเดิร์น

6 สถาปนิก

หลุยส์ ไอ คาห์น: จากสารัตถะแห่งอดีตกาล
โรเบิร์ต เวนทูรี่: ความซับซ้อนและความขัดแย้ง
ปีเตอร์ ไอเซนแมน: ไดอะแกรมกับการสูญสลายของภาพลักษณ์
เลบเบียส วู้ดส์: สงคราม เครื่องจักร และสถาปัตยกรรม
มาร์คอส โนแวค: ศิลปินแห่งไซเบอร์สเปซ
เกร็ก ลินน์: ในเรือนร่างและความซับซ้อน
เส้นทางเดินของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ หรือโมเดิร์น (Modern architecture) ซึ่งพาดผ่าน ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จวบจนกลางศตวรรษที่ 20 ได้พลิกโฉมกระบวนทัศน์ของมนุษย์ ไปสู่ระบบการคิดและปฏิบัติในเชิงจักรกล อีกทั้งยังเชิดชู 'สุนทรีภาพของจักรกล' ขึ้นมาแทนคุณค่าของ 'มนุษย์' อย่างหมดสิ้น เป็นชั่วขณะหนึ่ง ที่สถาปัตยกรรมได้ถูกสรรค์สร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่ดั่งเครื่องจักร ในการตอบสนองพฤติกรรม และชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในสังคม ภายใต้แก่นความคิดหลักที่ขนานนามกันว่า 'เหตุผลนิยม (Rationalism)' มากไปกว่าการมุ่งตอบสนองในเชิงศิลปะ หรือศรัทธาทางศาสนาดังเช่นอดีต ต้นกำเนิดของสถาปัตยกรรมโมเดิร์นนั้น อาจเป็นไปตามที่เจอร์เก้น ฮาแบร์มัส (Jurgen Habermas) นักปรัชญาชาวเยอรมันได้กล่าวไว้ว่า เกิดจากผลกระทบ ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันท้าทายต่อรูปแบบสถาปัตยกรรม3 ประการ คือ
1. ความต้องการใหม่เชิงคุณภาพ ในการออกแบบสถาปัตยกรรม
2. วัสดุใหม่ และเทคนิคในการก่อสร้าง
3. การโอนอ่อนของสถาปัตยกรรม ต่อประโยชน์ใช้สอยใหม่ๆ
สถาปนิกตะวันตกจำนวน 6 ท่าน (หลุย ไอ คาห์น, โรเบิร์ต เวนทูรี่, ปีเตอร์ ไอเซนแมน, เลบเบียส วู้ดส์, มาร์คอส โนแวค และเกร็ก ลินน์) ในหนังสือเล่มนี้ เป็นตัวแทนของความเคลื่อนไหวในสถาปัตยกรรม ที่พยายามนำเสนอคำตอบ หรือบทวิพากษ์ ต่อสกุลความคิดแบบโมเดิร์น (a critique of Modernism) ในหนทางที่แตกต่างกัน อันถือเป็นความเคลื่อนไหวในช่วงท้ายสุด ก่อนที่ทศวรรษที่ 20 ล่วงพ้นไป นักคิดเหล่านี้ ต่างช่วยกันผลักดันสถาปัตยกรรม ให้หลุดพันไปจากหนทางอันตีบตันเดิมๆ ถึงแม้ว่าบางแนวทางขัดแย้งกันเอง หรือคงอยู่เพียงชั่วคราว
บทความเกี่ยวกับสถาปนิกทั้ง 6 ไม่อาจครอบคลุมกระแสความคิดทางสถาปัตยกรรม หลังโมเดิร์นได้ครบถ้วน แต่น่าจะให้ภาพรวมได้ในระดับหนึ่ง โดยเริ่มต้นที่ หลุย คาห์น ผู้เป็นสถาปนิกในช่วงรอยต่อระหว่างโมเดิร์นตอนปลาย และโพสต์โมเดิร์น จนถึงมาร์คอส โนแวค ผู้นำสถาปัตยกรรมล้ำเข้าไปสู่โลกของไซเบอร์สเปซ อันไร้ตัวตนทางกายภาพ และท่ามกลางจุดเชื่อมต่อแห่งสหัสวรรษที่เพิ่งผ่านพ้นไป.